วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

IOTA 2011 SAMUI ISLAND (AS-101) by HS7AT/p

บันทึกประวัติศาสตร์การ DX ในประเทศไทย ในรอบ 10 ปี

นำเรื่อง

ภายในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา หลังการปิดตัวลงของการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง  กิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางของไทย ก็ดูจะเหมือนจะถูกลบเลือนออกไปจากกิจการวิทยุสมัครเล่น  บรรดาเพื่อนๆ ต่างก็เฝ้ารอที่จะให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ได้ให้โอกาสพวกเขาเหล่านั้นได้สอบเพื่อพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่โลกแห่งกิจการวิทยุสมัครเล่นอีกระดับหนึ่ง การออกไปตั้งสถานีชั่วคราวเพื่อออกอากาศ หรือ DXpedition นั้น หลายปีที่ผ่านมา ก็ไม่ค่อยมีใครได้ออกมาตั้งสถานีชั่วคราวกัน ซึ่งปัญหาใหญ่ ๆ ก็คือการที่ต้องใช้ต้นทุนที่สูงและไม่มีผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งหากไม่มีผู้ให้การสนับสนุนแล้วนั้นกิจกรรมเหล่านี้ยากที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแสงเทียน สมุทรสาคร ในนามของ สถานีวิทยุสมัครเล่นควบคุมข่ายกิจการวิทยุสมัครเล่น จังหวัดสมุทรสาคร สัญญาณเรียกขาน HS7AT จึงมีความเห็นพ้องต้องกันในการประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ ว่า สมาคมฯ ควรที่จะให้มีการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียของประเทศไทย และชื่อเสียงของสมาคมฯ ในการแข่งขันในรายการระดับนานาประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั่วทั้งโลก และถือเป็นการ DXpedition ไปในตัวด้วย โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกสมาคมฯ และผู้สนใจท่านอื่นที่มีความสนใจและเตรียมความพร้อมเพื่อสอบรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางเข้าร่วมด้วยเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบในอนาคตอันใกล้ และผู้สนใจในการ DX เข้าเยี่ยมชมเพื่อหาประสบการณ์

Island on the Air (IOTA) เป็นการออกอากาศจากบนเกาะต่าง ๆ จากบนโลกนี้ โดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ หรือ Radio Society of Great Britain (RSGB) เป็นผู้กำหนดหมายเลขเกาะต่าง ๆ โดยแบ่งตามทวีปเป็นดังนี้คือ NA , SA , AF , EU , AS , AN and OC ตามด้วย Number 3 หลัก ตามลำดับการจัดสรร ซึ่งเกาะสมุยเป็นหนึ่งเกาะในจำนวนเกาะหนึ่งใน GROUP NAME : Malay Peninsula East Group ที่ถูกจัดแบ่งโดย RSGB โดยมี Location อยู่ประมาณที่ แลตติจูด 9.00N-12.00N / ลองติจูด 99.13E
100.25E โดยมีเกาะที่อยู่ในหมายเลขเดียวกันคือหมายเลข AS101 คือ เกาะพะลวย , เกาะพงัน , เกาะสมุย และ เกาะเต่า

ความเป็นมาของ DX ประวัติศาสตร์ครั้งนี้

เดิมนั้น ผมได้ปรึกษากับ คุณธนวัฒน์ รุ่งอรุณวรรณ / E27EK / AB1OE อนุกรรมการฝ่ายวิชาการและต่างประเทศของสมาคมฯ ซึ่งเป็นผู้ช่วยผมว่าน่าจะไปออกอากาศจากเกาะต่าง ๆ ในประเทศไทยกันดีหรือไม่สำหรับปี 2011 นี้ ซึ่งแผนการนี้ได้ถูกวางมาเป็นเวลากว่า 2 ปี ที่ผ่านมา โดยจะเลือกเกาะที่ยังไม่เคยมีใครไปออกอากาศเลย ซึ่งก็สรุปได้ที่ เกาะเต่า หมายเลข IOTA AS101 หลังจากทำแผนต่าง ๆ ออกมาแล้ว ปรากฏว่า จากกิจกรรมที่คิดว่าจะทำแบบเล็ก ๆ มีเป้สัมภาระ 1 ใบ , เป้สำหรับวิทยุ 1 ใบ , สายอากาศลวด 1 เส้น และ แหล่งจากพลังงาน 1 เครื่อง ก็หลายมาเป็นเรื่องที่ค่อย ๆ ขยับขยายสู่วงกว้าง

เมื่อท่านเลขาธิการสมาคมฯ HS7UCQ / AB1PE ร.อ.คำรณ ทองสุก ได้รับทราบ ท่านก็ได้ให้ความคิดเห็นกับพวกเราว่า แล้วทำไมเราไม่ทำในนามสมาคมฯ เลยละ จะได้เป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงสมาคมฯ และจะได้มีผู้ให้การสนับสนุนต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงกิจการวิทยุสมัครเล่นจากประเทศไทยด้วย จากคำแนะนำนี้เอง ทำให้ผมต้องกลับมาคิดว่า งานเข้าผมแล้วและซิครับ ผมคิดว่าหากผมจะไปเกาะเต่านั้น ภาระยิ่งมากเมื่อคนยิ่งเพิ่มขึ้น ผมจะทำยังไงดี ผมเลยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแผนก็เลยเลือกเกาะสมุย เพราะใช้หมายเลขเดียวกัน ดีกว่า เนื่องด้วยผมสามารถเดินทางด้วยรถข้ามแพขนานยนต์ไปได้ และสัมภาระต่าง ๆ ผมก็สะดวก

ผมได้ติดต่อพี่สมบัติ / HS8IMH ที่สุราษฎร์ เพื่อขอคำแนะนำเพราะพี่สมบัติ อยู่ในพื้นที่ดอนสัก ซึ่งเป็นท่าเรือที่จะข้ามไปเกาะสมุย พี่สมบัติได้แนะนำสถานที่ให้ผมโดยเป็นรีสอร์ทของเพื่อน ซึ่งอยู่ในทิศเหนือด้านหน้าเปิดพอดี ตรงกับความต้องการของผมด้วย

ผมต้องกลับมาทำทุกอย่างใหม่หมดเลย เริ่มจากร่างโครงการเป็นลายลักษณ์อักษรจัดสรรประมาณการค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร ตระเตรียมสายอากาศ , เครื่องรับส่งวิทยุ , ทำการประชาสัมพันธ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ , จัดทำ QSL CARD , จัดทำ Logbook Online , จัดทำเวปไซด์สำหรับ DXpedition ครั้งนี้ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก HS8JYX / AG6BD และอีกหลาย ๆ อย่างที่จำเป็น

จากนั้นผมก็ได้เสนอโครงการต่อที่ประชุมกรรมการสมาคมฯ ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี จากคณะกรรมการสมาคมฯ ในการที่จะให้ผมได้มีโอกาสอันยิ่งใหญ่นี้ โดยสมาคมฯ ได้ซื้อเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางตัวใหม่ เพื่อสนับสนุนการออกอากาศครั้งนี้ และเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายหลักในครั้งนี้ ซึ่งต้องขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

หลังจากนำเสนอโครงการแก่กรรมการเรียบร้อย ผมกับท่านเลขาฯ สมาคมฯ ก็คิดว่าเราน่าที่จะทำหนังสือรายงานต่อ กสทช. ซะหน่อยหรือไม่ เพื่ออย่างน้อยทางหน่วยงานกำกับดูแลจะได้ทราบว่าพวกเราทำอะไรกัน เนื่องจากเราใช้สัญญาณเรียกขานของสมาคมฯ ซึ่งทำหน้าที่สถานีวิทยุคมนาคมควบคุมข่ายกิจการวิทยุสมัครเล่น    ดังนั้นผมจึงร่างหนังสือให้ท่านเลขาฯ สมาคมฯ เพื่อยื่นต่อ ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ กสทช. โดยท่าน ผอ.โอรส จัตตานนท์ ได้ให้คำปรึกษาผ่านทางท่านนายก และ ท่านเลขาฯ สมาคมฯ หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ทางสมาคมฯ ก็ได้รับหนังสือตอบกลับจาก กสทช. (ภาพจดหมายตอบ) ในเรื่องดังกล่าวว่าอนุญาตให้ดำเนินการได้ ซึ่งก็ต้องขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วยที่ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วมาก ๆ

เริ่มออกเดินทาง

เช้าวันที่ 28 กรกฎาคม 2554 เวลาประมาณ 09.00 น. คณะจากสมุทรสาคร ก็เริ่มออกเดินทาง โดยมี HS7UCQ / AB1PE พร้อมด้วย E27EK / AB1OE ซึ่งเดินทางมาจากชลบุรี ได้ออกเดินทางโดยได้นัดหมายกับทาง HS7TRW และ HS7WBB พบกันที่ สามแยกวังมะนาว คณะจากสมุทรสาครได้เดินทางเพื่อมาพัก 1 คืนที่บ้านผมที่ชุมพรเพื่อโหลดสัมภาระบางส่วนที่อยู่ที่บ้านผม

จากนั้นเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 คณะทีม DX ประวัติศาสตร์ HS7AT/p ได้เริ่มออกเดินทางจากบ้านผม ประมาณเวลา 08.00 น. เพราะผมต้องการที่จะให้ถึงท่าเทียบเรือเพื่อข้ามไปยังเกาะสมุย ให้ก่อนเวลา 11.00 น. เพื่อขึ้นเรือเที่ยว 11.00 นี้ เพราะเราต้องการจะให้ไปถึงเกาะสมุยไม่เกิน 13.00 น. เพื่อรับประทานอาหารก่อนติดตั้งสายอากาศและ Setup สถานี แต่ปรากฎว่าพวกเราไม่ทันเรือเที่ยว 11.00 น. เลยต้องไปเรือเที่ยว 12.00 น.แทน พวกเราถึงดอนสักประมาณ 11.30 น. จากนั้นก็ได้ไปยังท่านเรือเฟอร์รี่ ของ บริษัท ซีทราน เฟอร์รี่ จำกัด เพื่อรอขึ้นเรือ ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.30 ชั่วโมง ประมาณ 13.30 น. เรือเฟอร์รี่ ของ ซีทราน ก็ได้นำพวกเรามาถึงเกาะสมุย คณะของพวกเรามุ่งหน้าสู่ PS.THANA RESORT ของพี่ไพร้ตน์ สามสุวรรณ ซึ่งเป็นเพื่อนของพี่สมบัติ / HS8IMH

หลังจากถึงที่พัก พวกเราก็ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ขอรับประทานอาหารก่อนแล้วกันนะ เพราะยังไม่มีอะไรตกถึงท้องพวกเราเลยตั้งแต่เช้า เพราะรีบออกมาจากบ้านผมเพราะกลัวไม่ทันเรือ

หลังการรับประทานอาหารเสร็จ เราก็เริ่มลงมือประกอบสายอากาศกัน และ Setup สถานีให้สมบูรณ์ที่สุด โดยมีแผนที่จะเริ่มออกอากาศจากเกาะสมุยตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไปจนกระทั่งจบการแข่งขัน ผมทำหน้าที่ Setup สถานี และเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการออกอากาศ , HS7UCQ / AB1PE กับ E27EK / AB1OE ทำหน้าที่ติดตั้งสายอากาศ โดยมี HS7TRW และ HS7WBB HS7UCQ / XYL ทำหน้าที่ผู้ช่วย พวกเราติดตั้งสายอากาศและ Setup สถานี เสร็จลงในเวลา 17.30 น. ใช้เวลาไปทั้งสิ้น 2.30 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่ไม่เลวร้ายเท่าไร โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกอากาศดังนี้

เครื่องวิทยุ

   - Kenwood TS-570D POWER 100 WATTS (เครื่องหลักในการออกอากาศ)
   - Kenwood TS-850S POWER 100 WATTS (เครื่องสำรอง)
   - Alinco DR-135EZ (สำหรับสถานี VHF ติดต่อประสานงาน)

สายอากาศ

   - Maldol Vertical Antenna 6 Band
   - Diamond CP-6 Vertical Antenna 6 Band
   - HY-GAIN AS-2259 / GR Antenna Multiband
   - 40 Meters Vertical Homebrew Antenna BY KF1I
   - 80 Meters Dipole Antenna Homebrew By KF1I

อุปกรณ์อื่น ๆ

      - แหล่งจ่ายพลังงาน Switching Power Supply 2 เครื่อง
      - Antenna Tuner : MFJ 949E
      - Homebrew Antenna Tuner By HS8JYX , E27EK
      - Homebrew Band pass Filter By HS8JYX , E27EK
      - Bencher Paddle Key and N1MM Log Contest Program.  

เริ่ม ON-AIR

คืนวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 เวลา 18.30 น. ผมได้เริ่มออกอากาศในโหมด CW จาก AS101 เกาะสมุย โดยใช้ความถี่ 14 MHz. สถานีที่ติดต่อได้เป็นสถานีแรก  คือ UA0LS จาก Asiatic Russia จากนั้นก็มีสัญญาณเรียกเข้ามาอย่างไม่ได้ขาด  ในคืนนี้ผมยุติการออกอากาศจาก AS101 ในเวลา 23.00 น. เพื่อเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันในวันพรุ่งนี้ โดยในวันนี้สามารถติดต่อได้ทั้งสิ้น 132 สถานี โดยสถานีสุดท้ายที่ติดต่อได้คือ JK1DHX จากประเทศญี่ปุ่น

เข้าวันที่ 30 กรกฎาคม 2554 หลังจากรับประทานอาหารเช้าเรียบร้อย ผมและ E27EK / AB1OE และ HS7UCQ / AB1PE ต่างก็สลับกันออกอากาศจาก AS101 เกาะสมุย กันโดยไม่ได้หยุด เพื่อให้หลาย ๆ ท่านที่อาจจะติดต่อ HS7AT/p ในการแข่งขันไม่ได้ สามารถที่จะติดต่อได้ก่อน เพื่อแลกเปลี่ยน QSL CARD เพื่อขอรางวัล IOTA Award ในระหว่างการออกอากาศ ได้เกิดฝนตกอย่างฉับพลัน ทำให้ไฟฟ้าดับอย่างกระทันหัน E27EK / AB1OE ซึ่งเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 จังหวัดชลบุรี ได้ใช้การเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเหมือนกัน แจ้งเข้าไปที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดีในการแก้ไขเหตุการไฟฟ้าดับดังกล่าว ซึ่งกินเวลาไปประมาณ 10 นาที จากนั้นไฟฟ้าก็กลับมาใช้ได้เป็นปกติ  โดยในช่วงก่อนการแข่งขันนี้ HS7AT/pสามารถติดต่อได้เพื่อน ๆ นักวิทยุฯ ได้ทั้งสิ้น 231 สถานี โดยติดต่อ 7N1XMD/7 เป็นสถานีแรก ที่ความถี่ 21 MHz. และได้หยุดออกอากาศ เพื่อพร้อมสำหรับการแข่งขันเมื่อเวลา 17.36 น. โดยสถานีที่ติดต่อได้เป็นสถานีสุดท้ายคือ JA7BWT จากประเทศญี่ปุ่นอีกเช่นเคย  สำหรับท่านที่ติดต่อ HS7AT/p ได้สามารถเช็ค Log Online 

ได้ที่ www.hs7at.org หรือ www.sangtein.org หรือ www.qrz.com/db/hs7at  

Contest Start

เริ่มเวลา 19.00 น. สัญญาณเรียกขาน HS7AT/p ก็ได้เริ่มออกอากาศอีกครั้งจาก AS101 เกาะสมุย ในการแข่งขัน IOTA 2011 โดยติดต่อ JN6RZM เป็นสถานีแรกจาก ประเทศญี่ปุ่น ที่ความถี่ 14 MHz.  หลังจากนั้น HS7AT/p ก็ถูกเรียกเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากเพื่อนนักวิทยุฯ หลาย ๆ ประเทศ ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมงสามารถติดต่อได้มากกว่า 100 สถานี ซึ่งอากาศในวันนี้ดีมาก ที่ความถี่ 14 MHz. นี้  จากนั้นผมได้เปลี่ยนให้ E27EK / AB1OE มาทำหน้าที่ Operator แทนผมซึ่งขอพักทุก ๆ ชั่วโมง เพราะสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย (ไม่อยากบอกว่าแก่แล้ว) ในเวลาประมาณ 22.00 น. สัญญาณจากประเทศต่าง ๆ ได้เรียกเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ผมซึ่งไม่เคยใช้อุปกรณ์ช่วยของเครื่อง Kenwood TS-570D เลยแม้นแต่ครั้งเดียว จำต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างครบถ้วน โดยใช้ Filter กรองสัญญาณที่ชัดเจนก่อนในการทำคะแนนให้ได้จำนวน QSO ที่มากที่สุด ในวันนี้ ผมได้หยุดการออกอากาศเมื่อเวลา 03.22 น. โดยสถานีที่ติดต่อได้คือ สัญญาณจากประเทศยูเครน US7WW เป็นสถานีสุดท้ายที่เรียกเข้ามาสำหรับคืนนี้ โดยติดต่อได้ทั้งสิ้น 231 สถานี จากนั้นผมและ E27EK / AB1OE ได้หยุดการออกอากาศและพักผ่อนสำหรับการออกอากาศในวันพรุ่งนี้

เช้าวันที่ 31 กรกฎาคม 2554 ผมเริ่มออกอากาศอีกครั้งในเวลา 07.00 น. ที่ความถี่ 21 MHz. โดยสถานีแรกที่เรียกเข้ามาคือ KH2JU จากเกาะกวม ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันนี้ อากาศเริ่มไม่ค่อยดีเท่าไรนัก แต่ก็ยังสามารถติดต่อได้เป็นอย่างดี ในเวลาประมาณ 13.00 น. ทีม Support ก็ทำการเก็บสายอากาศรอบตัว (CP6) และอุปกรณ์สำรอง เพราะในวันรุ่งขึ้นเราต้องออกเดินทางกลับกันแต่เช้า เนื่องจาก HS7UCQ / AB1PE , E27EK / AB1OE , HS7TRW , HS7WBB ต้องเดินทางกลับสมุทรสาคร , ชลบุรี และ กาญจนบุรี (แต่ละคนมากันไกล ๆ ทั้งนั้น) มีเพียงผมคนเดียวที่อยู่ใกล้สุด ในวันนี้ ผมกับ E27EK / AB1OE ต่างก็สลับกันออกอากาศ และเป็นวันแรกที่ผมได้สัมผัสกับน้ำทะเลของเกาะสมุย หลังจากเอาตัวลงไปแช่น้ำเรียบร้อย ก็ขึ้นมาทำการออกอากาศต่อจนถึงเวลาใกล้สิ้นสุดการแข่งขัน โดยผมปิดสถานีเมื่อเวลา 18.36 น. โดยสถานีสุดท้ายที่ติดต่อได้คือ A43MI จากโอมาน โดยสามารถติดต่อได้ทั้งสิ้นในวันนี้อีก 176 สถานี รวมการแข่งขันทั้งสิ้นสามารถติดต่อได้ 407 สถานี 51 ประเทศ 29 เกาะ ได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 72,732 คะแนน

สรุปการติดต่อทั้งสิ้นสามารถติดต่อได้ดังนี้
DX Peddition    - 363 สถานี 30 ประเทศ
IOTA Contest     - 407 สถานี 51 ประเทศ
รวม ติดต่อได้ทั้งสิ้น    - 770 สถานี 56 ประเทศ
ในเวลาการออกอากาศทั้งสิ้น 48 ชั่วโมง


บทส่งท้าย

ขอบพระคุณ ท่านฐากร คัณฑสิทธิ์ ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช. , ท่านโอรส จัตตานนท์ ผอ.ฝ่ายสำนักการอนุญาตกิจการเฉพาะกิจ , สมาคมวิทยุสมัครเล่นแสงเทียน สมุทรสาคร (กรรมการและสมาชิกสมาคม) , หนังสือนิตยสารร้อยวัตต์ , HS1ASC / WH6ASC , E21EIC / KY1A , E20PFE / WH6DQS , HS8JYX / AG6BD , HS8IMH รองนายกสมาคมวิทยุสมัครเล่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี , HS8UDY เลขาธิการชมรมนักวิทยุสมัครเล่นเกาะสมุยสัมพันธ์ , คุณไพรัตน์ สามสุวรรณ เจ้าของ PS THANA รีสอร์ท และทุก ๆ ท่านที่ให้การสนับสนุนผ่านเสื้อที่ระลึกที่ได้จัดทำขึ้นจำนวน 50 ตัว เพื่อร่วมรำลึกถึงประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ เพราะหากไม่มีท่าน ๆ เหล่านี้ให้การสนับสนุน กิจกรรมนี้ก็คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ครับ และไว้พบกับ DXpedition ในปีต่อไปครับ อาจจะเป็น AS125 เกาะช้าง หรือ AS126 เกาะหลีเป๊ะ ครับ
































HS7AT Demonstation OP : E21IZC

HS7AT Demonstation ออกอากาศในงานอบรมและสอบ จ.สมุทรสาคร


Many Thanks : E29BUQ Record VDO.